ถ้ำพระธาตุ
 

ที่ตั้งตามการปกครอง บ้านเขาแก่งเรียง ต้าบลท่ากระดาน อ้าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

ที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ พิกัด UTM (WGS 1984) X 508730.692219, Y 1591455.070614

ละติจูด 14.395375, ลองจิจูด 99.080987 

ความสูงจากระดับนำทะเลปานกลาง 600.00 เมตร

หน่วยงานที่รับผิดชอบ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ

สถานภาพ แหล่งธรรมชาติจากโครงการแนวทางการจัดการแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ปี 2547

ลักษณะเด่นของพื้นที่/ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์

         เป็นถ้้ามืดขนาดใหญ่พื้นถ้้าเรียบ มีความยาวประมาณ 200 เมตร มีหินงอกและหินย้อยรูปร่างสวยงามแปลกตา จุดเด่นของถ้้าพระธาตุคือ หินส่วนใหญ่จะโปร่งแสง และมีหินทรายรูปร่างคล้ายพระธาตุ นอกจากนี้ยังมีเสาเอก เสาโท อยู่ภายในถ้้าอีกด้วย ภายในถ้้าแบ่งเป็น 5 ห้อง ได้แก่ กบจ้าศีล ท้องฟ้าจ้าลอง เสาเอก ม่านลิเก และระฆัง อากาศภายในถ้้าโปร่งสบาย และถ้้าพระธาตุสามารถให้ความรู้ด้านธรณีวิทยา และแผ่นดินไหวได้ด้วย เพราะมีร่องรอยของสภาพรอยเลื่อนที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ และการเกิดแผ่นดินไหว

ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี

         ประวัติการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐำนทำงโบราณคดีที่พบ การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เริ่มต้นขึ้นในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. 2484-2488) เมื่อกองทัพญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟเพื่อล้าเลียงยุทธโธปกรณ์จากไทยไปพม่าโดยใช้แรงงานเชลยศึกชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลันดาและอเมริกาที่ถูกจับมาจากประเทศต่าง ๆ ในบรรดาเชลยเหล่านั้นมีนักโบราณคดีชาวฮอลันดาชื่อ ดร.แวน ฮิกเกอเรน (Dr. H.R. Van Heekeren) ได้ถูกควบคุมตัวมาสร้างทางรถไฟที่เมืองกาญจนบุรี ดร.แวน ฮิกเกอเรน ได้พบเครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือหินกรวดหน้าเดียวและขวานหินขัดทรงสี่เหลี่ยม จึงได้เก็บซ่อนไว้ เมื่อสงครามสงบมีการน้าเครื่องมือหินเหล่านี้ไปตรวจสอบที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี้ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา จากการตรวจสอบของ ศ.ฮัลเลม เอช.โมเวียส จูเนียร์ (Hallem H. Movius Jr.) พบว่าเครื่องมือหินกรวดเหล่านี้เป็นเครื่องมือหินเก่า คล้ายกับที่พบที่สหพันธ์รัมลายา ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศจีน

         หลังจากนั้นเป็นต้นมา จึงมีการด้าเนินการศึกษาเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดกาญจนบุรีมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการด้าเนินการส้ารวจและขุดค้นอย่างเป็นระบบของคณะส้ารวจ ไทย-เดนมาร์ก ระหว่าง พ.ศ.2503-2505 นับว่าเป็นการด้าเนินการทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบครั้งแรกในประเทศไทย จากนั้นก็มีการส้ารวจ ขุดค้นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีมาโดยตลอด แหล่งโบราณคดีบางแห่งพบมีการอยู่อาศัย รายงานขั้นกลาง : โครงการการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจมีต่อ ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ประเภทถ้า - 427- ต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดกาญจนบุรีสามารถจ้าแนกเป็นยุคสมัยได้ ดังนี้

         ยุคหินเก่า (Palaeolithic age) – มีอายุระหว่าง 500,000-10,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ในสมัยนี้จัดเป็นสังคมเก็บของป่าล่าสัตว์ เร่ร่อนตามฝูงสัตว์ ไม่มีถิ่นแน่นอน พบหลักฐานการอยู่อาศัยการด้ารงชีวิตอยู่ตามถ้้าหรือเพิงผาและที่ราบริมฝั่งแม่น้้าแควน้อยและแควใหญ่ หลักฐานที่พบได้แก่เครื่องมือหินกรวดกะเทาะหน้าเดียว โดยพบในเขตต้าบลบ้านเก่า อ้าเภอเมือง ต้าบลท่าขนุน อ้าเภอทองผาภูมิ ต้าบลไทรโยค อ้าเภอไทรโยค ต้าบลท่ากระดาน อ้าเภอศรีสวัสดิ์

         ยุคหินกลาง (Mesolithic age) – มีอายุระหว่าง 10,000-6,000 ปีมาแล้ว พบหลักฐานเป็นเครื่องหินกะเทาะ ที่มีลักษณะของกลุ่มวัฒนธรรมโหบินเนียน ซึ่งพบครั้แรกที่เมืองโหบินน์ ประเทศเวียดนาม นอกจากเครื่องมือหินกะเทาะแล้วยังพบภาชนะดินเผาแบบธรรมดา โครงกระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์ นอกจากนี้ยังพบประเพณีการฝังศพโดยใส่เครื่องมือ เครื่องใช้ฝังร่วมกับศพ พบที่แหล่งโบราณคดีถ้้าพระ ต้าบลไทรโยค อ้าเภอไทรโยคและถ้้าทะลุ ต้าบลบ้านเก่า อ้าเภอเมือง

        ยุคหินใหม่ (Neolithic age) – มีอายุระหว่าง 6,000-4,000 ปีมาแล้ว เป็นยุคสมัยที่มนุษย์มีพัฒนาการทางสังคม วัฒนธรรมและเทคโนโลยีไปมาก หลักฐานทางโบราณคดีที่พบมากได้แก่ เครื่องหินขัด ภาชนะดินเผารูปทรงต่าง ๆ ซึ่งที่โดดเด่นจนเป็นเอกลักษณ์ก็คือ ภาชนะดินเผาทรงหม้อสามขา ซึ่งพบที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า เครื่องประดับ (ลูกปัด ก้าไล) โครงกระดูกมนุษย์ กระดูกสัตว์ หลักฐานต่าง ๆ ที่พบแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในยุคนี้มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ อาศัยอยู่ตามที่ราบใกล้แหล่งน้้า มีประเพณีการฝังศพโดยฝังนอนหงายเหยียดยาว มีการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ร่วมกับศพ แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่พบอยู่มากมายในเขตจังหวัดกาญจนบุรี เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า (นายบาง-นายลือ เหลืองแดง) ต้าบลบ้านเก่า อ้าเภอเมือง แหล่งโบราณคดีถ้้าสุธรรม ต้าบลท่าขนุน อ้าเภอทองผาภูมิ แหล่งโบราณคดีบ้านท่ามะเดื่อ ต้าบลปิล๊อก อ้าเภอทองผาภูมิ ถ้้าผาแดง ต้าบลด่านแม่แฉลบ อ้าเภอศรีสวัสดิ์ เป็นต้น ยุคโลหะ (Metal age) – ในยุคนี้มนุษย์มีการท้าเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยโลหะคือส้าริดและเหล็กแล้ว หลักฐานที่พบแสดงได้เห็นการติดต่อความสัมพันธ์กับอินเดีย แหล่งโบราณคดีที่พบหลักฐานแสดงถึงการติดต่อกับอินเดียคือ แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อ้าเภอพนมทวน โบราณวัตถุที่พบเช่น ภาชนะดินเผา ภาชนะส้าริดหล่อเนื้อบางพิเศษ มีรูปลวดลายต่าง ๆ เครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับ เช่น ก้าไลส้าริด ตุ้มหู แหวนและลูกปัดสีต่างๆ

        นอกจากนี้ยังพบหลุมฝังศพแสดงให้เห็นประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 การทุบท้าลายข้าวของเครื่องใช้เพื่อฝังร่วมกับศพ นอกจากนี้ ที่ถ้้าองบะ อ้าเภอศรีสวัสดิ์ ยังพบกลองมโหระทึกส้าริด คล้ายกับที่พบในกลุ่มวัฒนธรรมดองซอน ของเวียดนาม หลักฐานต่าง ๆ ที่พบในถ้้าแห่งนี้ยังแสดงให้เห็นการใช้พื้นที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคหินเก่า หินกลางและหินใหม่ จนถึงยุคโลหะ เช่น การฝังศพ เครื่องมือหิน ลูกปัดหินและภาชนะดินเผาสีด้า

        ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรียังพบภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์อีกหลายแห่ง ก้าหนดอายุระหว่าง 4,000-2,000 ปีมาแล้ว เช่นที่ถ้้ารูป ต้าบลวังกระแจะ อ้าเภอไทรโยค ถ้้าผาแดง ต้าบลด่านแฉลบ อ้าเภอศรีสวัสดิ์ ถ้้าตาด้วง ต้าบลช่องสะเดา อ้าเภอเมืองกาญจนบุรี ต่อมา กาญจนบุรีมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนที่อาศัยอยู่ตามถ้้าหรือเพิงผา ก็พัฒนามาเป็นสังคมหรือชุมชนตามพื้นที่ราบริมน้้า มีการขยับขยายชุมชน มีการติดต่อกับชุมชนต่างดินแดน จากชุมชนเล็ก ๆ จึงค่อย ๆ กลายเป็นเมืองที่มีพัฒนาการมากว่า 1,000 ปีมาแล้ว มีโบราณสถานและโบราณวัตถุปรากฏอยู่ที่ปราสาทเมืองสิงห์ แสดงให้เห็นอดีตอันเคยรุ่งเรืองของพื้นที่แห่งนี้ภายใต้อิทธิพลหรือการปกครองขอม สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1400 – 1700) และเมื่ออาณาจักรเสื่อมอ้านาจลงสมัยกรุงศรีอยุธยา ไทยก็เข้ามาปกครองดินแดนบริเวณนี้เรื่อยมา

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ

         ถ้้าพระธาตุเป็นถ้้าหินปูนยุคเพอร์เมียน (อายุประมาณ 285-245 ล้านปี) อยู่สูงจากระดับน้้าทะเลประมาณ 790 เมตร ปากถ้้าอยู่สูงจากพื้นถ้้าประมาณ 30 เมตร หินที่พบบริเวณทางขึ้นเป็นหินปูนเนื้อโดโลไมต์ ไม่แสดงชั้น ภายในถ้้าพบหินงอก หินย้อย ไข่มุกถ้้า ผลึกขนาดใหญ่ของแร่แคลไซต์ ม่านหินย้อย และโคมระย้าที่สวยงาม อีกทั้งยังมีร่องรอยของการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกปรากฏให้เห็น จึงถือเป็นถ้้าที่มีความงดงาม และมีคุณค่าทางวิชาการอย่างยิ่ง

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางชีวภาพ

         สิ่งมีชีวิต ถ้้าพระธาตุอยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ป่าไม้ยังอยู่ในสภาพที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย

             - ป่าเบญจพรรณ ร้อยละ 81.05 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ขึ้นปกคลุมตั้งแต่ระดับความสูง 100 - 800 เมตร จากระดับน้้าทะเล พันธุ์ไม้ที่ส้าคัญได้แก่ มะค่าโมง ตะเคียนหนู รกฟ้า ผ่าเสี้ยน ประดู่ ส้มเสี้ยว แต้ว มะกอก ตะแบก ขานาง มะเกลือ หว้า ฯลฯ มีไผ่ชนิดต่าง ๆ ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปหรือบางแห่งขึ้นเป็นกลุ่ม ได้แก่ ไผ่ป่า ไผ่รวก ไผ่ซางนวล และไผ่หอบ นอกจากนี้ยังมีพวกไม้เลื้อยและพืชพื้นล่าง ได้แก่ เสี้ยวเครือ นมแมว เล็บเหยี่ยว หนามคนทา ช้องแมว มะเม่าไข่ปลา ย่านลิเภา เปล้าหลวง กระทือ สังกรณี และเอื้องหมายนา เป็นต้น

            - ป่าเต็งรัง มีร้อยละ 1.68 กระจายอยู่ในระดับความสูง 100 - 800 เมตรจากระดับน้้าทะเลปานกลาง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง แดง ก่อแพะ มะขามป้อม อ้อยช้าง ยอป่า กรวยป่า โมกหลวง ก้างขี้มอด ส้าน เหมือดคน ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หญ้าขน หญ้าหางเสือ เล็บแมว เถาว์กระทงลาย เป้ง ลูกใต้ใบ ผักหวาน ผักเป็ด พลับพลา และปอ เป็นต้น

           - ป่าดิบแล้ง มีร้อยละ 14.35 อยู่บนสันเขาทอดเป็นแนวยาวตรงใจกลางของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และอยู่ต่้าถัดลงมาในระดับความสูงระหว่าง 600-800 เมตรจากระดับน้้าทะเลปานกลาง และอยู่ในบริเวณที่ ชุ่มชื้นตามที่ราบริมห้วย พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางโอน มะพลับดง ยมหิน ตะเคียนทอง ส้าโรง ตะคร้้า สัตบรรณ เฉียงพร้านางแอ มะดูก พลองใบเล็ก ข่อยหนาม ชมพู่น้้า ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวายขม เถากระไดลิง เข็มขาว มะลิไส้ไก่ ว่านเศรษฐี ต้าแยกวาง เถาอบเชย ไผ่หนาม และเนียมฤาษี แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้้าสะเทินบก นก และสัตว์น้้าอื่น ๆ รวมทั้งปลานานาชนิด ที่ส้าคัญและมักจะพบเห็น ได้แก่ ช้างป่า หมีควาย เลียงผา อีเก้ง กวางป่า หมูป่า ชะนีธรรมดา ค่างแว่นถิ่นเหนือ ลิงกัง ลิงลม แมวดาว อีเห็นธรรมดา กระแต เหยี่ยวกิ้งก่าสีด้า ไก่ฟ้าหลังเทา ไก่ป่า นกกวัก นกเด้าดิน นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นกหัวขวานด่างแคระ นกปรอดสวน นกจาบดินอกลาย งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูหลาม งูเห่าตะลาน กิ้งก่าหัวสีฟ้า จิ้งเหลนบ้าน ตะพาบน้้า คางคกบ้าน เขียดจะนา อึ่งกราย กบป่าไผ่ใหญ่ ปาดบิน ปลากั้ง ปลาเวียน ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาตะเพียนขาว ปลากระสูบจุด ปูน้้าตก ปูตะนาวศรี ปูกาญจนบุรี เป็นต้น

ประเภทการใช้ประโยชน์ แหล่งธรรมชาติประเภทถ้ำ กำรใช้ประโยชน์ที่ดิน 

         เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ต้าบลท่ากระดาน อ้าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ภายใต้การดูแลของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ดังนั้นการใช้ประโยชน์ ที่ดินจึงเป็นสภาพป่าไม้ที่ปกคลุมพื้นที่ประมาณ ร้อยละ 90

สุนทรียภาพและการพัฒนาทางกายภาพ

          โครงการพัฒนา

         การบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมของชุมชน

            ปัจจุบันวัดเขาหลวงทำหน้าที่บริหารจัดการภายในตัวถ้ำ ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม ภายในถ้ำมีการให้เช่าวัตถุมงคล ดอกไม้ ธูปเทียน สำหรับ อบต. มีการจัดการบริเวณสถานที่จอดรถ โดยให้รถผู้มาเยือนจอดอยู่ด้านล่างและจัดรถสองแถวบริการ ซึ่งในอนาคตอาจต้องมีการวางแผนบริหารจัดการถ้ำเข้าหลวงให้เป็นรูปธรรมมากกว่านี้

        สิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก

        สิ่งก่อสร้างและการบริการ

            บริเวณพื้นที่ทางขึ้นถ้ำเขาหลวง มีถนนเทคอนกรีต จนถึงบริเวณบันไดปูน ประมาณ 99 ขั้น ในอดีตนักท่องเที่ยวสามารถนำรถขึ้นมาจอดได้ถึงบริเวณบันไดปูน ปัจจุบันทางองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้ให้รถนักท่องเที่ยว จอดที่ด้านล่างและมีรถสองแถว รับส่งจนถึงบริเวณบันไดปูนที่จะเดินต่อไปจนถึงบริเวณปากถ้ำเนื่องจากพื้นที่โดยรอบถูกดัดแปลงเป็นพื้นปูนเกือบทั้งหมดทำให้ ในช่วงฤดูร้อนจะมีความร้อนทั้งจากบริเวณพื้นที่โดยรอบค่อนข้างสูง และจากตามธรรมชาติ และการที่พื้นปูนที่เป็นสีขาว สะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ และประกอบกับสภาพป่าไม้ที่ขึ้นบนเขาหลวงเป็นป่าผลัดใบ เหล่านี้จะยิ่งเพิ่มผลกระทบด้านความร้อนถึงตัวถ้ำและบรรยากาศอาจขาดความร่มรื่นสำหรับความดึงดูดที่จะให้นักท่องเที่ยวมาเยือน

          

ย้อนกลับ

 
 
 
Visitor  : วันนี้ 129 | เดือนนี้ : 17913 | ปีนี้ : 113280 | รวม : 275868 เทศบาลตำบลเอราวัณ เลขที่ 447 หมู่ที่ 4 ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี